กลุ่มเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชนจังหวัดนครราชสีมา

กลุ่มเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชนบ้านหนองโดน

ปีที่เข้าร่วม        2556

ที่ตั้ง                  หมู่ที่ 5 ตำบลโนนตูม อำเภอชุมพวง จังหวัดนครราชสีมา

ประธานกลุ่ม    นายอุดมศักดิ์ ลีสม

สมาชิกกลุ่ม      40 คน ประกอบอาชีพ ทำนา ทำสวน ทำไร่ และเลี้ยงสัตว์

 

   กิจกรรมระดับครัวเรือน

  • ทำนาปี
  • ปลูกพืชผักสวนครัวไว้สำหรับบริโภคภายในครัวเรือน เช่น ตะไคร้ ข่า พริก กะเพรา ต้นหอม ชะอม เป็นต้น
  • ปลูกไม้ผล เช่น กล้วย มะละกอ มะม่วง ละมุด เป็นต้น     
  • การทำบัญชีรายรับรายจ่ายของครัวเรือน (รายวัน)

 

   กิจกรรมกลุ่ม

  • ด้านการบริหารจัดการและกระบวนการกลุ่ม   
    • การจัดตั้งคณะกรรมการในการบริหารจัดการกลุ่ม
    • การกำหนดกฎระเบียบ ข้อบังคับของกลุ่ม

  • ด้านการผลิตของกลุ่ม
    • ปลูกผักปลอดสารพิษ
    • ปลูกหม่อน-เลี้ยงไหม และทอผ้าไหม
    • เลี้ยงไก่พันธุ์ไข่ 
    • เลี้ยงโคขุน โคเนื้อ โควากิว
    • ทำปุ๋ยหมักชีวภาพ
    • ผลิตภัณฑ์จักสาน
    • ปลูกข้าวหอมมะลิ

  • ด้านการเงินและบัญชี
    • การออมทรัพย์ของกลุ่ม สมาชิกออมเงินเดือนละ 100 บาท
    • การทำบัญชีรายรับรายจ่ายของกลุ่ม (รายเดือน)

  • ด้านการช่วยเหลือสังคม
    • ระดมเงินทุนช่วยเหลือชาวบ้านที่ยากจน โดยใช้เงินช่วยเหลือจากกลุ่ม 1,000 บาท
    • เมื่อปี 2565 จัดถุงยังชีพ จำนวน 200 ชุด เพื่อช่วยเหลือชาวบ้านที่ประสบอุทกภัย ภายในพื้นที่อำเภอชุมพวง

 

    การพระราชทานความช่วยเหลือ

  • พระราชทานเงินเพื่อเป็นกองทุนสำรองจ่ายและแหล่งเงินหมุนเวียนในการดำเนินกิจกรรมกลุ่มของสมาชิก จำนวน 20,000 บาท
  • พระราชทานเครื่องสีข้าวอัตรากำลัง 80-100 กิโลกรัม/ชั่วโมง จำนวน 1 เครื่อง

กลุ่มเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชนบ้านหนองพยอม

ปีที่เข้าร่วม        2557

ที่ตั้ง                  หมู่ที่ 4 ตำบลลุงเขว้า อำเภอหนองบุญมาก จังหวัดนครราชสีมา

ประธานกลุ่ม    นางปาณีต พันธ์สระน้อย

สมาชิกกลุ่ม       50 คน ประกอบอาชีพ ทำไร่ ทำสวน เลี้ยงสัตว์ รับจ้างทั่วไป

 

   กิจกรรมระดับครัวเรือน

  • ทำไร่มันสำปะหลัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ อ้อย
  • เลี้ยงสัตว์ ได้แก่ โค กระบือ ไก่เนื้อ ไก่ไข่ หมู ปลา
  • ปลูกพืชผักสวนครัวไว้สำหรับบริโภคภายในครัวเรือน ได้แก่ ผักบุ้ง คะน้า พริก มะเขือ บวบ ตะไคร้ มะนาว ถั่วฟักยาว ข่า หน่อไม้
  • ปลูกไม้ผล ได้แก่ กล้วย
  • การทำบัญชีรายรับรายจ่ายของครัวเรือน (รายวัน)       

 

   กิจกรรมกลุ่ม

  • ด้านการบริหารจัดการและกระบวนการกลุ่ม   
    • การจัดตั้งคณะกรรมการในการบริหารจัดการกลุ่ม
    • การกำหนดกฎระเบียบ ข้อบังคับของกลุ่ม
    • การจัดทำฐานเรียนรู้ภายในศูนย์เรียนรู้ ได้แก่ ฐานไก่พื้นเมือง ฐานเลี้ยงไก่ไข่ ฐานเลี้ยงหมู

  • ด้านการผลิตของกลุ่ม
    • การทำปุ๋ยอินทรีย์
    • การทำไม้หนีบนวด
    • การทำสมุนไพรลูกประคบ
    • การแปรรูป ได้แก่ (1) กล้วยฉาบ (2) ขนมไทย เช่น ขนมบ้าบิ่น ขนมทองม้วน ขนมชั้น วุ้นชนิดต่าง ๆ และ (3) พริกแกง

  • ด้านการเงินและบัญชี
    • การออมทรัพย์ของกลุ่ม มีการออมประจำทุกเดือน ไม่จำกัดวงเงินในการออม

  • ด้านการช่วยเหลือสังคม
    • ทำหน้ากากผ้าแจกให้กับคนในชุมชน ช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)

 

    การพระราชทานความช่วยเหลือ

  • พระราชทานเงินเพื่อเป็นกองทุนสำรองจ่ายและแหล่งเงินหมุนเวียนในการดำเนินกิจกรรมกลุ่มของสมาชิก จำนวน 20,000 บาท
  • พระราชทานเครื่องสีข้าวอัตรากำลัง 80-100 กิโลกรัม/ชั่วโมง จำนวน 1 เครื่อง

กลุ่มเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชนบ้านโพนสูง

ปีที่เข้าร่วม        2558

ที่ตั้ง                   หมู่ที่ 4 ตำบลหมื่นไว อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา

ประธานกลุ่ม     นายอรุณ ขันโคกสูง

สมาชิกกลุ่ม       47 คน ประกอบอาชีพ ทำนา ทำสวน เลี้ยงสัตว์ รับจ้างทั่วไป

 

   กิจกรรมระดับครัวเรือน

  • ทำนาข้าว
  • เลี้ยงสัตว์ ได้แก่ ไก่พันธุ์พื้นเมือง เป็ดเนื้อ หมูขุน จิ้งหรีด ปลาดุก ปลานิล กบ
  • ปลูกพืชผักสวนครัวไว้สำหรับบริโภคภายในครัวเรือน ได้แก่ แมงลัก กะเพรา โหระพา เห็ดนางฟ้าภูฐาน มะนาว ตะไคร้ มะเขือ มะละกอ
  • ปลูกไม้ผล ได้แก่ มะพร้าว ฝรั่ง กล้วย
  • การทำบัญชีรายรับรายจ่ายของครัวเรือน (รายวัน)       

 

   กิจกรรมกลุ่ม

  • ด้านการบริหารจัดการและกระบวนการกลุ่ม   
    • การจัดตั้งคณะกรรมการในการบริหารจัดการกลุ่ม
    • การกำหนดกฎระเบียบ ข้อบังคับของกลุ่ม

  • ด้านการผลิตของกลุ่ม
    • การทำนาแปลงรวม
    • การทำนาบัว 
    • การปลูกหม่อน
    • การแปรรูป ได้แก่ (1) กล้วยตากเสียบไม้ (2) น้ำมะนาวบรรจุขวด (3) น้ำหม่อนบรรจุขวด (4) ปลานิลแดดเดียว และ (5) จิ้งหรีดทอดสมุนไพร

  • ด้านการเงินและบัญชี
    • การออมทรัพย์ของกลุ่ม มีการออมประจำทุกเดือน ไม่จำกัดวงเงินในการออม
    • ระดมทุนจากสมาชิก 30 ราย ๆ ละ 5,000 บาท เพื่อนำมาเป็นทุนในการทำฝรั่งแปลงรวม
    • การทำบัญชีรายรับรายจ่ายของกลุ่ม (รายเดือน)

  • ด้านการช่วยเหลือสังคม
    • นำข้าวสารที่ได้จากการทำนาแปลงรวมแจกให้กับคนในชุมชน ช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)

 

    การพระราชทานความช่วยเหลือ

  • พระราชทานเงินเพื่อเป็นกองทุนสำรองจ่ายและแหล่งเงินหมุนเวียนในการดำเนินกิจกรรมกลุ่มของสมาชิก จำนวน 20,000 บาท
  • พระราชทานเครื่องสีข้าวอัตรากำลัง 80-100 กิโลกรัม/ชั่วโมง จำนวน 1 เครื่อง

กลุ่มเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชนบ้านดอนวัว

ปีที่เข้าร่วม        2559

ที่ตั้ง                   หมู่ที่ 10 ตำบลลาดบัวขาว อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา

ประธานกลุ่ม     นายวิบูลย์  รุดจันทึก

สมาชิกกลุ่ม       33 คน ประกอบอาชีพ ทำไร่ ทำสวน เลี้ยงสัตว์ รับจ้างทั่วไป

 

   กิจกรรมระดับครัวเรือน

  • ทำไร่มันสำปะหลังโรงงาน ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ อ้อยโรงงาน ข้าว
  • เลี้ยงสัตว์ ได้แก่ ไก่พันธุ์พื้นเมือง ไก่ไข่ โค กระบือ หมูขุน ปลาดุก ปลาตะเพียน
  • ปลูกพืชผักสวนครัวไว้สำหรับบริโภคภายในครัวเรือน ได้แก่ กะเพรา ตะไคร้ ผักบุ้ง มะเขือ
  • ปลูกไม้ผล ได้แก่ ชมพู่ มะม่วง กล้วย มะพร้าว         

 

   กิจกรรมกลุ่ม

  • ด้านการบริหารจัดการและกระบวนการกลุ่ม   
    • การจัดตั้งคณะกรรมการในการบริหารจัดการกลุ่ม
    • การกำหนดกฎระเบียบ ข้อบังคับของกลุ่ม
    • การจัดทำฐานเรียนรู้

  • ด้านการผลิตของกลุ่ม
    • แปลงนาข้าวไรซ์เบอรี่
    • การแปรรูป ได้แก่ กล้วยฉาบ

  • ด้านการเงินและบัญชี
    • การออมทรัพย์ของกลุ่ม สมาชิกออมเงินเดือนละ 30 บาท
    • การทำบัญชีรายรับรายจ่ายของกลุ่ม (รายเดือน)

 

    การพระราชทานความช่วยเหลือ

  • พระราชทานเงินเพื่อเป็นกองทุนสำรองจ่ายและแหล่งเงินหมุนเวียนในการดำเนินกิจกรรมกลุ่มของสมาชิก จำนวน 20,000 บาท เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2561

กลุ่มเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชนบ้านหนองหอย

ปีที่เข้าร่วม        2560

ที่ตั้ง                   หมู่ที่ 1 ตำบลหนองหอย อำเภอพระทองคำ จังหวัดนครราชสีมา

ประธานกลุ่ม    นายชูรัชต์ ขุยจันทึก 

สมาชิกกลุ่ม       30 คน ประกอบอาชีพ ทำนา ทำไร่ เลี้ยงสัตว์ และรับจ้าง

 

   กิจกรรมระดับครัวเรือน

  • ทำนาปี
  • ปลูกมันสำปะหลัง
  • ปลูกพืชผักสวนครัวไว้สำหรับบริโภคภายในครัวเรือน เช่น ตะไคร้ ข่า พริก มะเขือ ชะอม โหระพา กะเพรา มะนาว ถั่วฝักยาว เป็นต้น   
  • ปลูกไม้ผล เช่น กล้วย มะละกอ มะพร้าวน้ำหอม ฝรั่ง มะม่วง เป็นต้น
  • เลี้ยงสัตว์ ได้แก่ โค และปลา
  • การทำบัญชีรายรับรายจ่ายของครัวเรือน (รายวัน)

 

   กิจกรรมกลุ่ม

  • ด้านการบริหารจัดการและกระบวนการกลุ่ม   
    • การจัดตั้งคณะกรรมการในการบริหารจัดการกลุ่ม
    • การกำหนดกฎระเบียบ ข้อบังคับของกลุ่ม

  • ด้านการผลิตของกลุ่ม
    • การแปรรูป ได้แก่ 1) กล้วยตากด้วยตู้อบพลังงานแสงอาทิตย์ 2) กล้วยเบรกแตก 3) คุกกี้ธัญพืช 4) แป้งกล้วยน้ำว้า 5) ข้าวหอมมะลิ

  • ด้านการเงินและบัญชี
    • การทำบัญชีรายรับรายจ่ายของกลุ่ม (รายเดือน)

    การพระราชทานความช่วยเหลือ

  • พระราชทานเงินเพื่อเป็นกองทุนสำรองจ่ายและแหล่งเงินหมุนเวียนในการดำเนินกิจกรรมกลุ่มของสมาชิก จำนวน 20,000 บาท
  • โรงสีข้าวพระราชทาน