กลุ่มเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ
กลุ่มเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชนบ้านโนนเปือย
ปีที่เข้าร่วม 2556
ที่ตั้ง หมู่ที่ 10 ตำบลบึงมะลู อำเภอกันทรลักษณ์ จังหวัดศรีสะเกษ
ประธานกลุ่ม นางเข็มพร เพ็งจันทร์
สมาชิกกลุ่ม 60 คน ประกอบอาชีพ ทำนา ทำสวน ทำไร่ เลี้ยงสัตว์ ทอผ้าไหม และทอพรมเช็ดเท้า
กิจกรรมระดับครัวเรือน
- ปลูกพืชผักสวนครัวไว้สำหรับบริโภคภายในครัวเรือน เช่น ตะไคร้ ข่า พริก มะเขือ ฟักเขียว เป็นต้น
- ปลูกไม้ผล เช่น กล้วย มะละกอ มะพร้าว น้อยหน่า เป็นต้น
- ผลิตต้นพันธุ์พืชเพื่อจำหน่าย เช่น ไม้ประดับ หมาก
- เลี้ยงสัตว์ เช่น โค ไก่พันธุ์พื้นบ้าน เป็ดเทศ หนูพุกในบ่อวง เลี้ยงปลา และกบ เป็นต้น
- การทำบัญชีรายรับรายจ่ายของครัวเรือน (รายวัน)
กิจกรรมกลุ่ม
- ด้านการบริหารจัดการและกระบวนการกลุ่ม
- การจัดตั้งคณะกรรมการในการบริหารจัดการกลุ่ม
- การกำหนดกฎระเบียบ ข้อบังคับของกลุ่ม
- ด้านการผลิตของกลุ่ม
- เพาะเห็ดนางฟ้า
- การแปรรูป ได้แก่ 1) แหนมเห็ดนางฟ้า 2) ข้าวเกรียบเห็ด
- ทอผ้าไหมมัดหมี่
- ทอพรมเช็ดเท้า
- ด้านการเงินและบัญชี
- การออมทรัพย์ของกลุ่ม มีการออมทรัพย์เพื่อการผลิต
- การทำบัญชีรายรับรายจ่ายของกลุ่ม (รายเดือน)
- ด้านการช่วยเหลือสังคม
-
- สมทบทุนสร้างลานกีฬาของหมู่บ้าน
- สมทบค่าใช้จ่ายในการพัฒนาหมู่บ้าน
- สมทบทุนการจัดกิจกรรมในวันสำคัญต่างๆ เช่น เลี้ยงขนม/อาหารเด็กเนื่องในโอกาสวันเด็ก
- สมทบทุนในการจัดกิจกรรมวันผู้สูงอายุของหมู่บ้าน
- ทุนการศึกษาเป็นค่าอาหารแก่เด็กนักเรียนบ้านหนองตลาด-โนนเปือย
- ช่วยเหลือสมาชิกเมื่อเสียชีวิตและคลอดบุตร
การพระราชทานความช่วยเหลือ
-
- พระราชทานเงินเพื่อเป็นกองทุนสำรองจ่ายและแหล่งเงินหมุนเวียนในการดำเนินกิจกรรมกลุ่มของสมาชิก จำนวน 20,000 บาท
กลุ่มเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชนบ้านบึงหมอก
ปีที่เข้าร่วม 2557
ที่ตั้ง หมู่ที่ 9 ตำบลส้มป่อย อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ
ประธานกลุ่ม นายสุพิชย์ บุญมานัส
สมาชิกกลุ่ม 50 คน ประกอบอาชีพ ทำนา ทำสวน เลี้ยงสัตว์ และทอผ้า
กิจกรรมระดับครัวเรือน
- ปลูกพืชผักสวนครัวไว้สำหรับบริโภคภายในครัวเรือนและจำหน่ายในชุมชน เช่น ตะไคร้ พริก ขิง ข่า มะเขือ โหระพา ผักแค มะนาว กะเพรา ถั่วฝักยาว ชะอม ต้นหอม ผักไชยา กระเทียม เป็นต้น
- ปลูกไม้ผล เช่น กล้วย กระท้อน มะละกอ มะพร้าว ทับทิม น้อยหน่า มะม่วง ฝรั่ง เป็นต้น
- เลี้ยงสัตว์ เช่น ไก่ กบ ปลา และหอยเชอรี่ เป็นต้น
กิจกรรมกลุ่ม
- ด้านการบริหารจัดการและกระบวนการกลุ่ม
- การจัดตั้งคณะกรรมการในการบริหารจัดการกลุ่ม
- การกำหนดกฎระเบียบ ข้อบังคับของกลุ่ม
- ด้านการผลิตของกลุ่ม
- ผลิตข้าวหอมมะลิอินทรีย์ ที่ได้รับมาตรฐาน PGS และ ICS
- การทอผ้าไหมลายพื้นบ้าน
- การเก็บเมล็ดพันธุ์ผักพื้นบ้าน เพื่อแจกจ่ายให้สมาชิกกลุ่มไว้สำหรับปลูกบริโภค ลดรายจ่าย เช่น ผักโขมใหญ่ ถั่วฝักยาว บวบหอม ผักชี ถั่วเขียว เป็นต้น
- ด้านการเงินและบัญชี
- การออมทรัพย์ของกลุ่ม มีการออมทรัพย์เพื่อการผลิต
- การทำบัญชีรายรับรายจ่ายของกลุ่ม (รายเดือน)
การพระราชทานความช่วยเหลือ
-
- พระราชทานเงินเพื่อเป็นกองทุนสำรองจ่ายและแหล่งเงินหมุนเวียนในการดำเนินกิจกรรมกลุ่มของสมาชิก จำนวน 20,000 บาท
กลุ่มเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชนบ้านหนองเทา
ปีที่เข้าร่วม 2558
ที่ตั้ง หมู่ที่ 5 ตำบลตะดอบ อำเภอเมืองศรีษะเกษ จังหวัดศรีษะเกษ
ประธานกลุ่ม นายศุภกฤต ยืนยาว
สมาชิกกลุ่ม 30 คน ประกอบอาชีพ ทำนา ทำสวน และเลี้ยงสัตว์
กิจกรรมระดับครัวเรือน
- ปลูกพืชผักสวนครัวไว้สำหรับบริโภคภายในครัวเรือน เช่น ตะไคร้ พริก ขิง ข่า มะเขือ โหระพา มะนาว กะเพรา ถั่วฝักยาว ชะอม ต้นหอม ผักแค ผักคาวตอง เป็นต้น
- ปลูกไม้ผล เช่น กล้วย กระท้อน มะละกอ มะพร้าว ละมุด ฝรั่ง เป็นต้น
- เลี้ยงสัตว์ ได้แก่ เป็ด กบ และปลา
กิจกรรมกลุ่ม
- ด้านการบริหารจัดการและกระบวนการกลุ่ม
- การจัดตั้งคณะกรรมการในการบริหารจัดการกลุ่ม
- การกำหนดกฎระเบียบ ข้อบังคับของกลุ่ม
- ด้านการผลิตของกลุ่ม
- ผลิตข้าวหอมมะลิอินทรีย์
- การสานตะกร้าพลาสติก และกระติบข้าวจากต้นกก
- ผลิตกระถางปลูกผักจากยางรถยนต์
- ด้านการเงินและบัญชี
- การออมทรัพย์ของกลุ่ม มีการออมทรัพย์เพื่อการผลิต
- การทำบัญชีรายรับรายจ่ายของกลุ่ม (รายเดือน)
- ด้านการช่วยเหลือสังคม
-
- บำเพ็ญสาธารณประโยชน์ในชุมชน เช่น ทำความสะอาดหมู่บ้าน ปลูกต้นไม้ ร่วมกิจกรรมงานบุญ เป็นต้น
การพระราชทานความช่วยเหลือ
-
- พระราชทานเงินเพื่อเป็นกองทุนสำรองจ่ายและแหล่งเงินหมุนเวียนในการดำเนินกิจกรรมกลุ่มของสมาชิก จำนวน 20,000 บาท
กลุ่มเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชนบ้านหนองกอง
ปีที่เข้าร่วม 2559
ที่ตั้ง หมู่ที่ 3 ตำบลโดด อำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ จังหวัดศรีสะเกษ
ประธานกลุ่ม นายชาติชาย บุญผุย
สมาชิกกลุ่ม 30 คน ประกอบอาชีพ ทำนา ทำสวน ทำไร่ เลี้ยงสัตว์ และทอผ้าไหม
กิจกรรมระดับครัวเรือน
- ปลูกพืชผักสวนครัวไว้สำหรับบริโภคภายในครัวเรือน เช่น ตะไคร้ พริก ขิง ข่า มะเขือ โหระพา ชะอม กะเพรา ถั่วฝักยาว ตำลึง บวบ ผักไชยา ผักแค ผักติ้ว ผักบุ้ง มะม่วงหาวมะนาวโห่ เป็นต้น
- ปลูกไม้ผล เช่น กล้วย มะละกอ มะพร้าว มะม่วง ทับทิม น้อยหน่า ขนุน ส้มโอ เป็นต้น
- เลี้ยงสัตว์ ได้แก่ โค ไก่ เป็ด กบ และปลา
กิจกรรมกลุ่ม
- ด้านการบริหารจัดการและกระบวนการกลุ่ม
- การจัดตั้งคณะกรรมการในการบริหารจัดการกลุ่ม
- การกำหนดกฎระเบียบ ข้อบังคับของกลุ่ม
- ด้านการผลิตของกลุ่ม
- การเพาะเห็ดนางฟ้า
- การทอผ้าไหม
- การเก็บเมล็ดพันธุ์ผักพื้นบ้าน เพื่อแจกจ่ายให้สมาชิกกลุ่มสำหรับไว้ปลูกบริโภค ลดรายจ่าย เช่น เผือก ถั่วเขียว ถั่วแปลบ ผักชี ผักกาดพื้นเมือง กระชาย ตะไคร้ เป็นต้น
- ด้านการเงินและบัญชี
- การออมทรัพย์ของกลุ่ม สมาชิกออมเงินวันละ 1 บาท หรือมากกว่าตามระเบียบ ข้อบังคับของกลุ่ม
- การทำบัญชีรายรับรายจ่ายของกลุ่ม (รายเดือน)
- ด้านการช่วยเหลือสังคม
-
- ระดมทุนจากสมาชิกเพื่อจัดเป็นสวัสดิการให้แก่สมาชิก เช่น การช่วยเหลือกรณีที่สมาชิกเสียชีวิต
- บำเพ็ญสาธารณประโยชน์ในชุมชน เช่น การจัดกิจกรรมงานบุญประเพณีของชุมชน กิจกรรมวันสำคัญทางศาสนา เป็นต้น
การพระราชทานความช่วยเหลือ
-
- พระราชทานเงินเพื่อเป็นกองทุนสำรองจ่ายและแหล่งเงินหมุนเวียนในการดำเนินกิจกรรมกลุ่มของสมาชิก จำนวน 20,000 บาท
กลุ่มเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชนบ้านโนนไชยงาม
ปีที่เข้าร่วม 2560
ที่ตั้ง หมู่ที่ 11 ตำบลรุ่งระวี อำเภอน้ำเกลี้ยง จังหวัดศรีสะเกษ
ประธานกลุ่ม นายบุญหนา บัวศรี
สมาชิกกลุ่ม 30 คน ประกอบอาชีพ ทำนา ทำสวน เลี้ยงสัตว์ และทอผ้าไหม
กิจกรรมระดับครัวเรือน
- ปลูกพืชผักสวนครัวไว้สำหรับบริโภคภายในครัวเรือน เช่น ตะไคร้ พริก ขิง ข่า มะเขือ โหระพา มะนาว กะเพรา บอน ต้นหอม ผักเผ็ด เป็นต้น
- ปลูกไม้ผล เช่น กล้วย มะละกอ มะพร้าว น้อยหน่า แตงโม เป็นต้น
- เลี้ยงสัตว์ ได้แก่ โค ไก่พันธุ์พื้นบ้าน เป็ดเทศ ปลา และกบ
- ทอผ้าไหม
กิจกรรมกลุ่ม
- ด้านการบริหารจัดการและกระบวนการกลุ่ม
- การจัดตั้งคณะกรรมการในการบริหารจัดการกลุ่ม
- การกำหนดกฎระเบียบ ข้อบังคับของกลุ่ม
- ด้านการผลิตของกลุ่ม
- ธนาคารข้าวเปลือก
- การผลิตเตาประหยัดพลังงาน
- ด้านการเงินและบัญชี
- การออมทรัพย์ของกลุ่ม สมาชิกออมเงินวันละ 1 บาท หรือมากกว่าตามระเบียบ ข้อบังคับของกลุ่ม
- การทำบัญชีรายรับรายจ่ายของกลุ่ม (รายเดือน)
- ด้านการช่วยเหลือสังคม
-
- การจัดตั้งกองทุนสวัสดิการ เช่น การช่วยเหลืองานฌาปนกิจ หรือผู้ประสบภัยด้านต่างๆ
- บำเพ็ญสาธารณประโยชน์ในชุมชน เช่น ปรับปรุงภูมิทัศน์ภายในหมู่บ้าน
การพระราชทานความช่วยเหลือ
-
- พระราชทานเงินเพื่อเป็นกองทุนสำรองจ่ายและแหล่งเงินหมุนเวียนในการดำเนินกิจกรรมกลุ่มของสมาชิก จำนวน 20,000 บาท