กลุ่มเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชนจังหวัดพังงา

กลุ่มเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชนบ้านตีนเป็ด

ปีที่เข้าร่วม        2558

ที่ตั้ง                   หมู่ที่ 2 ตำบลลำภี อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา 

ประธานกลุ่ม     นายวิวัฒน์ วสันต์     

สมาชิกกลุ่ม       30 คน ประกอบอาชีพ ทำไร่ ทำสวน และเลี้ยงสัตว์  

 

   กิจกรรมระดับครัวเรือน

  • ทำสวนยางพารา
  • ทำสวนปาล์มน้ำมัน
  • เลี้ยงสัตว์ ได้แก่ ไก่ เป็ดเทศ หมู ปลาดุก 
  • การปลูกพืชผักสวนครัวไว้สำหรับบริโภคภายในครัวเรือน ได้แก่ ผักกาด กวางตุ้ง มะเขือ พริก ตะไคร้ ผักบุ้ง พริกไทย ข่า สะตอ ฟักทอง มะเขือเทศ มะนาว เป็นต้น 
  • การทำบัญชีรายรับรายจ่ายครัวเรือน (รายวัน)

 

   กิจกรรมกลุ่ม

  • ด้านการบริหารจัดการและกระบวนการกลุ่ม
    • การจัดตั้งคณะกรรมการในการบริหารจัดการกลุ่ม
    • การกำหนดกฎระเบียบ ข้อบังคับของกลุ่ม

  • ด้านการผลิตของกลุ่ม
    • การเลี้ยงผึ้ง
    • การเลี้ยงหมูหลุม
    • ธนาคารต้นไม้
    • การทำปุ๋ยหมัก และน้ำหมักชีวภาพ
    • การทำน้ำยาล้างจาน และแชมพูสระผม
    • เผาถ่าน
    • การแปรรูป ได้แก่ ขนมกาละแม ขนมถั่วทอด ขนมดอกจอก สบู่น้ำผึ้ง

  • ด้านการเงินและบัญชี
    • การออมทรัพย์ของกลุ่ม สมาชิกออมเงินเป็นประจำทุกเดือน ไม่จำกัดวงเงินในการออม 
    • การทำบัญชีรายรับรายจ่ายของกลุ่ม (รายเดือน)
  • ด้านการช่วยเหลือสังคม 
    • ร่วมทำบุญโรงทานในงานบุญต่างๆ
    • มอบทุนการศึกษา ปีละ 5 ทุน ๆ ละ 1,000 บาท

 

    การพระราชทานความช่วยเหลือ

  • พระราชทานเงินเพื่อเป็นกองทุนสำรองจ่ายและแหล่งเงินหมุนเวียนในการดำเนินกิจกรรมกลุ่มของสมาชิก จำนวน 20,000 บาท 

  

    ช่องทางการติดต่อกลุ่ม/ช่องทางจำหน่ายของกลุ่ม (ออนไลน์) 

  • เพจ Facebook  “ศูนย์เรียนรู้เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ ธกส.บ้านตีนเป็ด”

  

กลุ่มเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชนบ้านนากลาง

ปีที่เข้าร่วม        2559

ที่ตั้ง                   หมู่ที่ 9 ตำบลโคกกลอย อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา

ประธานกลุ่ม     นายสมบัติ ยกเชื้อ  

สมาชิกกลุ่ม       30 คน ประกอบอาชีพ ทำสวน และรับจ้างทั่วไป  

 

   กิจกรรมระดับครัวเรือน

  • สวนยางพารา ปาล์มน้ำมัน สับปะรด 
  • การปลูกพืชผักสวนครัวไว้สำหรับบริโภคภายในครัวเรือน ได้แก่ คะน้า ผักกาดขาว กะหล่ำปลี มะนาวเลม่อน 
  • การทำบัญชีรายรับรายจ่ายครัวเรือน (รายวัน)

 

   กิจกรรมกลุ่ม

  • ด้านการบริหารจัดการและกระบวนการกลุ่ม
    • การจัดตั้งคณะกรรมการในการบริหารจัดการกลุ่ม
    • การกำหนดกฎระเบียบ ข้อบังคับของกลุ่ม

  • ด้านการผลิตของกลุ่ม
    • การปลูกเมล่อน
    • การปลูกพืชผักสวนครัว ได้แก่ ผักชีฝรั่ง กะหล่ำปลี คะน้า กวางตุ้ง พริก ผักกาดหอม ต้นหอม มะเขือเทศ ผักบุ้ง เป็นต้น
    • ผลิตภัณฑ์จากผ้ามัดย้อม
    • การทำปุ๋ยมูลไส้เดือน
    • สมุนไพรแช่เท้า
    • การแปรรูป ได้แก่ ไส้กรอก แปรรูปเห็ดนางฟ้า

  • ด้านการเงินและบัญชี
    • การออมทรัพย์ของกลุ่ม สมาชิกออมเงินเป็นประจำทุกเดือน ไม่จำกัดวงเงินในการออม 
    • การทำบัญชีรายรับรายจ่ายของกลุ่ม (รายเดือน)
  • ด้านการช่วยเหลือสังคม 
    • การนำผลผลิตของศูนย์ฯ มาจากแจกให้กับผู้ที่ประสบความเดือดร้อน เช่น ช่วงโควิด 19 ได้นำผลผลิตของศูนย์ฯ มอบให้กับด่านตรวจโควิดบ้านท่านุ่น

 

    การพระราชทานความช่วยเหลือ

  • พระราชทานเงินเพื่อเป็นกองทุนสำรองจ่ายและแหล่งเงินหมุนเวียนในการดำเนินกิจกรรมกลุ่มของสมาชิก จำนวน 20,000 บาท 

  

    ช่องทางการติดต่อกลุ่ม/ช่องทางจำหน่ายของกลุ่ม (ออนไลน์) 

  • เพจ Facebook   “สมบัติ ยกเชื้อ” 

 

 

กลุ่มเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชนบ้านกะปง

ปีที่เข้าร่วม        2560

ที่ตั้ง                   หมู่ที่ 1-4  ตำบลกะปง อำเภอกะปง จังหวัดพังงา

ประธานกลุ่ม     นายรณพล ขวัญเซ่ง  

สมาชิกกลุ่ม       45 คน ประกอบอาชีพ ทำไร่ ทำสวน เลี้ยงสัตว์  

 

   กิจกรรมระดับครัวเรือน

  • สวนยางพารา ปาล์มน้ำมัน   
  • เลี้ยงสัตว์ ได้แก่ ไก่ไข่ หมู ปลาดุก ปลานิล
  • การปลูกพืชผักสวนครัวไว้สำหรับบริโภคภายในครัวเรือน ได้แก่ บวบ ถั่วฟักยาว แตงกวา ผักบุ้ง มะเขือ ฟักเขียว ผักกาด ตะไคร้ ข่า กะเพรา มะกรูด  
  • ปลูกไม้ผล ได้แก่ กล้วย มะม่วง
  • การทำบัญชีรายรับรายจ่ายครัวเรือน (รายวัน)

 

   กิจกรรมกลุ่ม

  • ด้านการบริหารจัดการและกระบวนการกลุ่ม
    • การจัดตั้งคณะกรรมการในการบริหารจัดการกลุ่ม
    • การกำหนดกฎระเบียบ ข้อบังคับของกลุ่ม
    • การประชุมกลุ่ม 2 เดือน/ครั้ง

  • ด้านการผลิตของกลุ่ม
    • การขยายพันธุ์ทุเรียนสาลิกา
    • การปลูกผักสวนครัว
    • การเลี้ยงสัตว์ ได้แก่ ไก่พันธุ์ไข่ ปลา
    • การทำน้ำส้มควันไม้
    • การเผาถ่าน
    • น้ำยาล้างจาน
    • การทำจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง
    • การแปรรูป ได้แก่ น้ำผลไม้ตามฤดูกาล ตะลิงปลิงสามรส เครื่องแกง

  • ด้านการเงินและบัญชี
    • การออมทรัพย์ของกลุ่ม สมาชิกออมเงินเป็นประจำทุกเดือน ไม่จำกัดวงเงินในการออม 
    • การทำบัญชีรายรับรายจ่ายของกลุ่ม (รายเดือน)

 

    การพระราชทานความช่วยเหลือ

  • พระราชทานเงินเพื่อเป็นกองทุนสำรองจ่ายและแหล่งเงินหมุนเวียนในการดำเนินกิจกรรมกลุ่มของสมาชิก จำนวน 20,000 บาท