“…โครงการต่างๆ ที่เริ่มไว้ ตอนนี้ก็ไม่ใช่ว่าเฉพาะแต่นักเรียนอย่างเดียว ขณะนี้ก็พยายามให้มีประโยชน์ต่อบุคคลในครอบครัวของนักเรียน คนในชุมชน เช่น เรื่องของการฝึกหรือพัฒนาอาชีพชุมชน ซึ่งนักเรียนที่ได้เรียนได้ฝึกแล้ว ก็น่าจะได้รวมกลุ่มหรือคณะศิษย์เก่าก็อาจจะเป็นการประกอบอาชีพต่อไป เพราะในขณะนี้คนอื่นๆ ทั่วๆ ไปก็มีหลายคน แม้แต่ที่จบการศึกษาระดับสูง ระดับอาชีวะหรือระดับปริญญาเสียด้วยซ้ำไป ในช่วงนี้ที่จะเข้างานสำนักงานก็อาจจะทำได้โดยยาก ก็มีทางหนึ่งที่จะต้องทำงานอิสระ ประกอบอาชีพ ครั้นประกอบอาชีพอิสระแต่เพียงลำพังตัวคนเดียว ก็อาจจะไม่มีทุนรอนที่จะทำได้ ต้องรวมกันเป็นกลุ่ม เพราะฉะนั้นในหมู่บ้าน ในชุมชนก็อาจจะเข้าร่วมได้ในเรื่องนี้…”
พระราชดำรัสในโอกาสที่คณะผู้ปฏิบัติงานโครงการตามพระราชดำริ เข้าเฝ้าฯ
ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา
วันอังคารที่ 21 เมษายน 2541
ความเป็นมา
พุทธศักราช 2538 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี มีพระราชดำริให้ดำเนินโครงการส่งเสริมอาชีพขึ้น เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ทุรกันดารห่างไกลมีอาชีพเสริม เพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว พึ่งตนเองได้ ช่วยยกระดับความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น และสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนได้อย่างยั่งยืน
กิจกรรมมุ่งส่งเสริมการรวมกลุ่มกันเรียกชื่อว่า กลุ่มอาชีพประชาชนในถิ่นทุรกันดาร โดยสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานเงินเป็นกองทุนของกลุ่ม พัฒนาทักษะฝีมือและคุณภาพของผลิตภัณฑ์ที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยใช้วัตถุดิบที่หาได้ในท้องถิ่นเป็นหลัก จัดหาเครื่องมือ วัสดุและอุปกรณ์ที่จําเป็น ก่อสร้างอาคารที่ทำการ และฝึกอบรมเพิ่มศักยภาพให้กลุ่มสามารถบริหารจัดการได้ด้วยตนเอง
กลุ่มอาชีพประชาชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริ จัดตั้งขึ้นครั้งแรกที่หมู่บ้านนายาว ตำบลท่ากระดาน อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา ปัจจุบันมีกลุ่มอาชีพประชาชนในถิ่นทุรกันดารกระจายอยู่ในชุมชนที่เป็นพื้นที่เขตบริการของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” และพื้นที่โครงการตามพระราชดำริอื่น ๆ ครอบคลุมทุกภาคของประเทศ
แนวทางการพัฒนา
ส่งเสริมการรวมกลุ่มกันประกอบอาชีพเสริม ด้วยภูมิปัญญาและทรัพยากรที่มีในท้องถิ่น
พัฒนาศักยภาพของกลุ่มในการผลิตผลิตภัณฑ์ ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะท้องถิ่นและมีคุณภาพ โดยเน้นการผลิตที่ใช้ภูมิปัญญาและวัสดุในท้องถิ่น รักษาความเป็นธรรมชาติ เป็นการผลิตที่ไม่ทําลายสิ่งแวดล้อม โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานปัจจัยการผลิตให้กับกลุ่มที่ขาดแคลน เช่น วัสดุ เครื่องมือ หรืออาคารที่จำเป็นต่อการประกอบอาชีพ ทุนหมุนเวียน การปรับปรุงฉลากและบรรจุภัณฑ์ เป็นต้น
การฝึกอบรม
- การย้อมผ้าด้วยสีธรรมชาติ
กลุ่มทอผ้าปกากะญอย้อมสีธรรมชาติในพื้นที่อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่
- พัฒนาทักษะการปักผลิตภัณฑ์ผ้า
กลุ่มพัฒนาอาชีพบ้านไอร์บือแต อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส
- พัฒนาตัดเย็บแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเสื่อกก และผ้าขิดมัดหมี่
กลุ่มพัฒนาอาชีพบ้านดงตาหวาน อำเภอกุดข้าวปุ้น จังหวัดอุบลราชธานี
ปี 2544 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งร้านภูฟ้าขึ้น เพื่อเป็นช่องทางในการจําหน่ายผลิตภัณฑ์ที่กลุ่มผลิตขึ้น และส่งเสริมกลุ่มในการหาตลาดของตนเอง เพื่อให้วงจรการผลิตมีความต่อเนื่อง สมาชิกมีรายได้หมุนเวียน มีกำลังใจในการทำงาน และมีประสบการณ์ตรงด้านการตลาด
ตัวอย่าง จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จึงมีพระราชดำริให้ฝึกอบรมกลุ่มอาชีพประชาชน เพื่อให้สามารถจำหน่ายสินค้าผ่านระบบออนไลน์ได้อีกช่องทางหนึ่งด้วย
อาทิ จัดโครงสร้างและระบบงานของกลุ่ม ระบบบัญชี ระบบควบคุมคุณภาพในการผลิตผลิตภัณฑ์ สร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างกลุ่ม
สร้างจิตสํานึกของสมาชิกในการทํางานร่วมกัน ช่วยเหลือกันและกัน เพื่อความมั่นคงของครอบครัวและชุมชน
กิจกรรมเพื่อสังคม
กลุ่มแปรรูปผลผลิตการเกษตรบ้านศุภชัย อำเภอหนองสองห้อง จังหวัดขอนแก่น ร่วมกันพัฒนาชุมชนและปลูกต้นไม้เพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
การคืนกำไรสู่ชุมชน
กลุ่มเครื่องเงินบ้านเขาวัง อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช เลี้ยงอาหารนักเรียนและมอบเงินให้แก่โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านเขาวัง เนื่องในโอกาสวันเด็ก และสอนการทำเครื่องเงินให้กับเด็กนักเรียน
กลุ่มอาชีพประชาชนในถิ่นทุรกันดาร
ปัจจุบันมีการจัดตั้งกลุ่มอาชีพประชาชน ตามพระราชดำริ ทั้งหมด 103 กลุ่ม กระจายอยู่ใน 26 จังหวัด ทุกภูมิภาคทั่วประเทศ มีสมาชิกรวมทั้งสิ้น 2,108 คน
ภูมิภาค | กลุ่มอาชีพประชาชน (กลุ่ม) | สมาชิก (คน) |
---|---|---|
1) ภาคกลาง | 14 | 363 |
2) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ | 41 | 856 |
3) ภาคเหนือ | 31 | 653 |
4) ภาคใต้ | 17 | 236 |
รวม | 103 | 2,108 |
พื้นที่ภาคกลาง
จำนวน 4 จังหวัด 14 กลุ่ม
พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 10 จังหวัด 41 กลุ่ม
พื้นที่ภาคเหนือ
จำนวน 6 จังหวัด 31 กลุ่ม
พื้นที่ภาคใต้
จำนวน 6 จังหวัด 17 กลุ่ม
ผลิตภัณฑ์
การดำเนินกิจกรรม ทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ของกลุ่มอาชีพมากมาย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำด้วยมือ มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว และไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม จึงทำให้เป็นที่นิยมทั้งตลาดในประเทศและนอกประเทศ โดยมีผลิตภัณฑ์แยกตามประเภท ดังนี้
ผ้าฝ้ายทอมือ
ผ้าทอปกากะญอ
ผ้าไหม
ผ้าบาติก
ผ้าปาเต๊ะ
จักสาน
โครเชต์
แกะสลัก
สบู่
แชมพู ครีมนวดผม
ผลิตภัณฑ์บำรุงผิว
ครีมขัดผิว
ชา
กล้วยอบ
ถั่วลิสงอบเกลือ
เม็ดมะม่วงหิมพานต์
น้ำบูดูข้าวยำ
สมันปลา
การพระราชทานความช่วยเหลือ
พระราชทานเงินเพื่อเป็นกองทุนหมุนเวียนในการดำเนินกิจกรรมกลุ่ม
เพื่อให้กลุ่มใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการผลิตสินค้าของกลุ่มตนเอง
พระราชทานเครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์การผลิต
เพื่อให้กลุ่มสามารถดำเนินการผลิตสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพและสามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง
อาคารพระราชทาน
สำหรับให้กลุ่มอาชีพประชาชน มีสถานที่และความพร้อมที่จะดำเนินงานได้
ข่าวกิจกรรม
วันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567
การติดตามงานกลุ่มอาชีพประชาชน ในโครงการส่งเสริมอาชีพ ตามพระราชดำริ พื้นที่จังหวัดนครพนม
วันที่ 11 – 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567
การติดตามงานกลุ่มอาชีพประชาชน ในโครงการส่งเสริมอาชีพ ตามพระราชดำริ พื้นที่จังหวัดสงขลา และจังหวัดนราธิวาส
วันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2567
การประชุมติดตามงานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรนายาวสามัคคี จังหวัดฉะเชิงเทรา กลุ่มอาชีพประชาชน ในโครงการส่งเสริมอาชีพ ตามพระราชดำริ
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
โรงเรียนตำรวจ
ตระเวนชายแดน
ศูนย์การเรียนชุมชน
ชาวไทยภูเขา
“แม่ฟ้าหลวง”