การติดตามความก้าวหน้าผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ในศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” สังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดตาก
วันที่ 26-30 มิถุนายน พ.ศ. 2566 โครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี (คสธ.) ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ณ ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” (ศศช.) สังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดตาก จำนวน 9 แห่ง ได้แก่
1) ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” บ้านห้วยวัว อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก
2) ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” บ้านพะละดอ อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก
3) ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” บ้านห้วยหมาบ้า อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก
4) ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” บ้านห้วยอีก้าง อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก
5) ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” บ้านห้วยแห้ง อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก
6) ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” บ้านแม่หิดคี อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก
7) ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” บ้านดูบลอคี อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก
8) ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” บ้านโป๊ะพอคี อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก
9) ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” บ้านผากะเจ้อ อำเภอพบพระ จังหวัดตาก
จากการติดตามโครงการ คณะติดตามงานให้ข้อเสนอแนะต่างๆ ดังนี้
1) โภชนาการและสุขภาพอนามัย
1.1 ศศช. บางแห่งพบว่ามีเด็กเตี้ย ซึ่งนางรัตนาภรณ์ เหมือนจันทร์ ศูนย์อนามัยที่ 2 พิษณุโลก ได้ให้คำแนะนำควรจัดนมให้เด็กเพิ่มเติมในช่วงเช้า จำนวน 1 กล่อง ไข่ 1 ฟอง และกล้วยน้ำว้า 1 ใบ รวมทั้งควรจัดเมนูอาหารให้มีความหลากหลาย โดยใน 1 สัปดาห์ เด็กควรได้รับประทานอาหารที่ใส่ไข่ 3-5 ฟอง ปลา 1 มื้อ และอาหารที่มีธาตุเหล็ก 1 มื้อ รวมทั้งถั่วเมล็ดแห้งหรือเต้าหู้อีก 1 มื้อ
1.2 ควรให้เด็กได้ออกกำลังกายในแนวดิ่งเพิ่มเติม เช่น กระโดดตบ กระโดดเชือก เป็นต้น
1.3 เครื่องชั่งน้ำหนักและที่วัดส่วนสูง ยังคงไม่ได้มาตรฐาน ไม่มีหน่วยเป็นกรัมและมิลลิเมตร และเครื่องชั่งน้ำหนัก ควรจะต้องมีการเทียบน้ำหนักกับลูกตุ้ม เพื่อให้มีความเที่ยงตรงของเครื่องชั่ง และมีวิธีการวัดที่ถูกต้อง
1.4 ห้องพยาบาล ส่วนใหญ่จะมีแต่ตู้ยา บางแห่งเก็บยาในกล่อง ซึ่งขาดความเป็นระเบียบ นอกจากนี้ยังพบว่า ยาบางชนิด หมดอายุแล้ว ซึ่งทาง ศูนย์อนามัยที่ 2 พิษณุโลก ได้แนะนำว่าถ้ายาที่หมดอายุ ควรจะเก็บทิ้ง นอกจากนี้ยังควรมีการทำทะเบียนการจ่ายยาของนักเรียนหรือชาวบ้าน รวมทั้งทำบันทึกสถิติการเจ็บป่วย
1.5 ยาเม็ดเสริมธาตุเหล็ก ควรให้หลังรับประทานอาหารกลางวัน สัปดาห์ละ 1 เม็ด ถ้าเด็กที่มีภาวะซีดจาง ควรให้สัปดาห์ละ 2 เม็ด
1.6 การหยดน้ำไอโอดีน ควรหยด 1 หยด/ น้ำ 5 ลิตร และควรมีการเปลี่ยนน้ำวันต่อวัน
1.7 โรงอาหาร ควรมีที่เก็บจาน ชาม และแก้วน้ำ ให้มิดชิด เพื่อหลีกเลี่ยงแมลงและสัตว์มีพิษมาไต่ตอม
1.8. น้ำดื่ม จากการตรวจสอบคุณภาพน้ำใน ศศช. ทุกแห่ง พบว่า มีโคลิฟอร์มแบคทีเรีย ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ซึ่งนางสาวศุทธา อุ่นกาศ ศูนย์อนามัยชาติพันธุ์ชายขอบ และแรงงานข้ามชาติ ได้ให้คำแนะนำในการใส่คลอรีน 1 เม็ด/น้ำ 1,000 ลิตร และเปิดทิ้งไว้ 2 ชั่วโมง เพื่อให้หมดกลิ่นของคลอรีน นอกจากนี้ในเรื่อง สีของน้ำ ที่ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ควรทำตาข่ายดักเศษใบไม้ ไม่ให้ร่วงมาที่ถังเก็บน้ำ รวมทั้งต้องล้างถังปีละ 1 ครั้ง
1.9 หนอนพยาธิ ถ้า ศศช. ที่พบพยาธิ นายคำพล แสงแก้ว สำนักงานป้องกันและควบคุมโรคที่ 2 พิษณุโลก ได้ให้คำแนะนำ ครูต้องดูแลสุขนิสัยของนักเรียนทุกคน เช่น ต้องสวมใส่รองเท้า หมั่นตัดเล็บ ไม่รับประทานผักดิบ เป็นต้น
1.10 โรคมาลาเรียและโรคไข้เลือดออก นายทวีศักดิ์ ทองบู่ แก้ว สำนักงานป้องกันและควบคุมโรคที่ 2 พิษณุโลก ได้ให้คำแนะนำ ครูต้องสร้างสิ่งแวดล้อมบริเวณ ศศช. ให้สะอาด ไม่ให้มีน้ำขังตามบริเวณต่างๆ ใน ศศช. รวมทั้งต้องมีการจัดการขยะ
2) โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
2.1 แปลงเกษตร สำนักงานเกษตรจังหวัดตากได้ให้คำแนะนำเรื่องการเพาะปลูกพืชควรให้มีความหลากหลาย และต้องสอดคล้องกับเมนูอาหารกลางวันของ ศศช. และอาจจะร่วมมือกับชาวบ้าน ในการปลูกถั่วเมล็ดแห้งหลังจากการเก็บเกี่ยวข้าว/ข้าวโพด และควรมีการตัดแต่งกิ่งต้นไม้ที่เป็นทรงพุ่มด้วย
2.2 กิจกรรมประมง พบว่า ศศช. ส่วนใหญ่เลี้ยงปลาดุกในบ่อดิน ซึ่งทางประมงจังหวัดตาก ได้มามอบให้เมื่อเดือน กุมภาพันธ์ 2566 ศศช. บางแห่งพบว่า ไม่มีการจับปลาที่มีขนาดตัวที่ใหญ่ขึ้นมารับประทาน ทำให้ปลาดุกตัวเล็กไม่สามารถโตได้ เนื่องจากจะถูกตัวใหญ่แย่งอาหาร ควรมีการจับปลาดุกขึ้นมาทยอยรับประทาน ส่วนศศช. บ้านโป๊ะพอคี ได้มีการนำโซล่าร์เซลล์ล่อแมลง เพื่อให้เป็นอาหารแก่ปลาดุก เป็นการลดต้นทุนอาหารปลาดุก
2.3 กิจกรรมปศุสัตว์ พบว่า ศศช.บ้านห้วยแห้ง มีการเลี้ยงสุกร โดยมีการจัดการให้ผู้ปกครองของเด็กนำไปเลี้ยงที่บ้าน และเมื่อมีลูกแล้วต้องนำสุกร มาคืน ศศช. ซึ่งทางปศุสัตว์จังหวัด ได้ให้คำแนะนำควรมีการติดตามวิธีการเลี้ยงสุกรของผู้ปกครอง รวมทั้งการให้อาหารควรเป็นอาหารของสุกรโดยเฉพาะ ไม่ควรเอาอาหารที่เด็กรับประทานเหลือมาให้สุกรกิน ซึ่งจะทำให้เกิดโรคในสุกรได้ นอกจากนี้ยังพบว่า ศศช. ส่วนใหญ่มีการเลี้ยงไก่พันธุ์พื้นเมือง แต่ยังคงไม่เพียงพอต่อการบริโภคของเด็ก
2.4 การพัฒนาปรับปรุงบำรุงดิน นายรชิษ เตชะกิติกรกุล สถานีพัฒนาที่ดินตาก ให้คำแนะนำ ศศช. ควรมีการทำปุ๋ยหมัก และน้ำหมักชีวภาพ บางแห่งควรมีการปลูกหญ้าแฝกระหว่างแปลงเกษตรด้วย
3) สหกรณ์นักเรียน
3.1 ศศช.บ้านแม่หิดคี สอนนักเรียนเรื่องการออมเงิน โดยให้เด็กบันทึกการออมเงินในสมุดบัญชี นอกจากนี้นางสาวอาริศา วิตจะยาน สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ตาก ได้ให้คำแนะนำถึงผลผลิตทางการเกษตร ควรซื้อขายผ่านทางสหกรณ์ โดยอาจจะให้เด็กช่วยในการชั่ง ตวง วัด รวมถึงการจดบันทึกบัญชีและการบันทึกทะเบียนคุมสินค้าด้วย
การติดตามความก้าวหน้าผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริ
วันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2566 ณ ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” บ้านห้วยวัว อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก
การติดตามความก้าวหน้าผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริ
วันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2566 ณ ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” บ้านพะละดอ อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก
การติดตามความก้าวหน้าผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริ
วันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2566 ณ ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” บ้านห้วยหมาบ้า อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก
การติดตามความก้าวหน้าผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริ
วันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2566 ณ ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” บ้านห้วยอีก้าง อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก
การติดตามความก้าวหน้าผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริ
วันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2566 ณ ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” บ้านห้วยแห้ง อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก
การติดตามความก้าวหน้าผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริ
วันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2566 ณ ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” บ้านแม่หิดคี อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก
การติดตามความก้าวหน้าผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริ
วันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2566 ณ ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” บ้านดูบลอคี อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก
การติดตามความก้าวหน้าผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริ
วันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2566 ณ ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” บ้านโป๊ะพอคี อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก
การติดตามความก้าวหน้าผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริ
วันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2566 ณ ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” บ้านผากะเจ้อ อำเภอพบพระ จังหวัดตาก