โครงการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยในพื้นที่ทุรกันดาร
ความเป็นมา
ตั้งแต่ พ.ศ. 2539 ที่มีพระราชดำริให้ดำเนินโครงการส่งเสริมโภชนาการและสุขภาพอนามัยแม่และเด็กในถิ่นทุรกันดารขึ้น นอกจากที่จะให้หญิงตั้งครรภ์ มารดาหลังคลอด และทารกได้รับบริการที่มีคุณภาพแล้ว ยังมีพระราชประสงค์ที่จะให้เด็กทุกช่วงอายุได้รับการส่งเสริมทั้งโภชนาการและมีพัฒนาการตามวัย ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ดำเนินกิจกรรมและโครงการต่าง ๆ เช่น การจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาเด็กวัยเตาะแตะ การให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง (พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย) ผู้ดูแลเด็กในเรื่องการส่งเสริมโภชนาการ และพัฒนาการของเด็ก การผลิตสื่อสร้างสรรค์ที่ให้ความรู้ในการเลี้ยงดูและพัฒนาเด็กปฐมวัย การส่งเสริมครัวเรือนให้ผลิตอาหาร การเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน การควบคุมโรคขาดสารไอโอดีน เป็นต้น ทำให้การส่งเสริมโภชนาการและพัฒนาการของเด็กมีความก้าวหน้ามาโดยลำดับ อย่างไรก็ตามยังมีชุมชนที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลอีกมากที่ผู้ปกครองยังขาดความรู้ความเข้าใจในการเลี้ยงดูแลเด็ก ทำให้ยังมีเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้าอีกจำนวนมาก ซึ่งจะส่งผลต่อสติปัญญาและการเรียนรู้ต่อไป
เมื่อกรมสุขภาพจิตได้ถวายรายงานเกี่ยวกับการพัฒนาโปรแกรมฝึกทักษะการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยไทย The Thai Preschool Parenting Program (The Thai Triple-P) ขึ้นในพื้นที่จังหวัดน่าน จึงมีพระราชดำริให้นำไปทดลองที่โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ดร. เนวิน สคริมชอว์ จังหวัดอุบลราชธานี ผลการดำเนินงานพบว่า เด็กมีพัฒนาการสมวัยมากกว่าการดูแลในระบบปกติ และเด็กมีความฉลาดทางอารมณ์เพิ่มขึ้น จึงมีพระราชกระแสเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2563 ณ ศูนย์การเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านทีวะเบยทะ ตำบลแม่ตื่น อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก ให้ดำเนินการครอบคลุมพื้นที่ที่มีโรงเรียนในโครงการตามพระราชดำริตั้งอยู่ นอกจากจะช่วยแก้ปัญหาของเด็กในชุมชนห่างไกลแล้ว ยังเป็นตัวอย่างแก่พื้นที่อื่น ๆ ทั่วประเทศด้วย
แนวทางการดำเนินงาน
การนำโปรแกรมฝึกทักษะการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยไทย The Thai Preschool Parenting Program (The Thai Triple-P) มาใช้ในพื้นที่โครงการ กพด. มีเป้าหมาย คือ
เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการสมวัยและมีความฉลาดทางอารมณ์อยู่ในเกณฑ์ดี
พร้อมต่อการเรียนรู้ ด้วยการพัฒนาพ่อแม่ผู้ดูแลเด็กให้มีทักษะการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย
กลุ่มเป้าหมาย คือ เด็กปฐมวัยอายุ 2-6 ปี ที่อยู่ในสถานศึกษาหรือศูนย์พัฒนาเด็กในพื้นที่โครงการ กพด.
ระยะเวลา การดำเนินงานเพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่โครงการ กพด.ทั้งหมด จะเริ่มดำเนินการใน พ.ศ. 2564 โดยจะทยอยดำเนินการในกลุ่มเป้าหมายและพื้นที่เป้าหมายจนครบทั้งหมดใน พ.ศ. 2569
ขั้นตอนการดำเนินงาน มีดังนี้
1. พัฒนาสมรรถนะกลุ่มผู้ปฏิบัติงานในการทำกลุ่มกิจกรรมฝึกทักษะการเลี้ยงดูเด็ก กลุ่มผู้ปฏิบัติงานประกอบด้วย ครูชั้นอนุบาลหรือศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เจ้าหน้าที่สุขศาลาพระราชทาน เจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.)
2. กลุ่มผู้ปฏิบัติงานในข้อ 1 ร่วมกันจัดกิจกรรมกลุ่มฝึกทักษะการเลี้ยงดูเด็กสำหรับพ่อแม่ผู้ดูแลเด็กและเด็กปฐมวัยอายุระหว่าง 2-6 ปี ณ สถานศึกษา จำนวน 4 ครั้ง เพื่อส่งเสริมพัฒนาการและความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กกลุ่มเป้าหมาย โดยสถานศึกษาจัดเตรียมสถานที่และตรวจสอบชุดอุปกรณ์พระราชทานให้ครบตามหมวดหมู่กิจกรรม
3. กลุ่มผู้ขับเคลื่อนโครงการหรือพี่เลี้ยงกระบวนการ รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนิเทศติดตามให้คำแนะนำในการจัดกิจกรรมของกลุ่มผู้ปฏิบัติงานในข้อ 1
4. ประเมินผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องตามระบบรายงาน กพด.
ตัวชี้วัด ร้อยละของเด็กปฐมวัยที่มีพัฒนาการสมวัย
ตัวชี้วัด ร้อยละของเด็กปฐมวัยที่มี EQ ผ่านเกณฑ์
หมายเหตุ ก่อนการดำเนินงานในทุกพื้นที่ กรมสุขภาพจิตจะจัดการอบรมพัฒนาสมรรถนะบุคลากรสาธารณสุขระดับเขต จังหวัด และอำเภอ เพื่อเป็นกลุ่มผู้ขับเคลื่อนโครงการหรือพี่เลี้ยงกระบวนการ ซึ่งประกอบด้วย
(1) บุคลากรศูนย์สุขภาพจิตและโรงพยาบาลจิตเวชในสังกัดกรมสุขภาพจิต
(2) บุคลากรสาธารณสุขผู้รับผิดชอบงานส่งเสริมสุขภาพหรืองานโครงการตามพระราชดำริใน สสอ./สสจ. และ
(3) บุคลากรสาธารณสุขผู้รับผิดชอบงานปฐมวัยใน รพช./รพท./รพศ.
ชุดอุปกรณ์พระราชทาน
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานงบประมาณเพื่อจัดซื้อชุดอุปกรณ์เพื่อใช้ในการจัดกิจกรรมของโปรแกรมฝึกทักษะการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยไทย The Thai Preschool Parenting Program (The Thai Triple-P)
ชุดอุปกรณ์พระราชทานจะเก็บไว้ที่สถานศึกษา ครูผู้รับผิดชอบตรวจสอบและจัดเตรียมชุดอุปกรณ์พระราชทานให้พร้อมใช้งาน ดังนี้
- ตรวจสอบชุดอุปกรณ์ให้ครบตามหมวดหมู่กิจกรรม และเรียงลำดับการใช้งานก่อนหลัง
- จัดเก็บอุปกรณ์ทันทีเมื่อใช้เสร็จเพื่อให้เด็กไม่หันเหความสนใจและมีสมาธิกับกิจกรรมใหม่
- หมั่นตรวจสอบความเรียบร้อยของอุปกรณ์และสภาพพร้อมใช้
- ทำความสะอาดอุปกรณ์หลังการใช้ทุกครั้งเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค
Download รายการชุดอุปกรณ์พระราชทาน
สื่อเผยแพร่
FAQ คำถามที่พบบ่อย
Frequently Asked Questions
ตอบคำถามเกี่ยวกับพัฒนาการเด็กปฐมวัยโดย แพทย์หญิงดุษฎี จึงศิรกุลวิทย์ ผู้อำนวยการกองบริหารระบบบริการสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต
การดำเนินงานปีที่ 1 (ปี 2564)
ปี 2564 มีพื้นที่เป้าหมาย รวม 88 โรงเรียน ดังนี้
1. โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน 32 โรงเรียน
2. โรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 33 โรงเรียน
3. ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” สังกัดกรมส่งเสริมการเรียนรู้ 20 แห่ง
4. โรงเรียนในสังกัดสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร 3 โรงเรียน
Download รายชื่อสถานศึกษา ปีที่ 1 (ปี 2564)
ผลการดำเนินงานปี 2564
การดำเนินงานปีที่ 1 (ปี 2564) มีกลุ่มเป้าหมายคือ เด็กปฐมวัย (อายุ 2-6 ปี) จำนวน 2,011 คน และผู้ปกครองเด็กที่เข้าร่วมโครงการทั้งหมด 2,011 คน
ผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดทั้ง 3 ตัวมีดังนี้
- ร้อยละของเด็กปฐมวัยที่มีพัฒนาการสมวัย
- ร้อยละของเด็กปฐมวัยที่มี EQ ผ่านเกณฑ์
- ร้อยละของพ่อแม่ผู้ดูแลเด็กที่มีทักษะการเลี้ยงดูผ่านเกณฑ์
การจัดกิจกรรมโปรแกรมฝึกทักษะการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยไทย The Thai Preschool Parenting Program (The Thai Triple-P)
ปีการศึกษา 2564 ได้จัดกิจกรรมโปรแกรมฝึกทักษะการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยไทย The Thai Preschool Parenting Program (The Thai Triple-P) ในสถานศึกษา 4 กิจกรรม คือ 1) กิจกรรมสร้างสายใย 2) กิจกรรมสร้างวินัย 3) กิจกรรมสร้างเด็กเก่ง 1 และ 4) กิจกรรมสร้างเด็กเก่ง 2
กิจกรรม สร้างสายใย
กิจกรรม สร้างวินัย
กิจกรรม สร้างเด็กเก่ง 1
กิจกรรม สร้างเด็กเก่ง 2
การดำเนินงานปีที่ 2 (ปี 2565)
ปี 2565 มีพื้นที่เป้าหมาย รวม 92 โรงเรียน ดังนี้
1. โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน 34 โรงเรียน
2. โรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 33 โรงเรียน
3. ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” สังกัดกรมส่งเสริมการเรียนรู้ 21 แห่ง
4. โรงเรียนในสังกัดสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร 4 โรงเรียน
Download รายชื่อสถานศึกษาปีที่ 2 (ปี 2565)
รวมพื้นที่เป้าหมายปีที่ 1 จำนวน 88 โรงเรียน และปีที่ 2 จำนวน 92 โรงเรียน รวม 180 โรงเรียน
ผลการดำเนินงานปี 2565
การดำเนินงานปีที่ 2 (ปี 2565) มีกลุ่มเป้าหมายคือ เด็กปฐมวัย (อายุ 2-6 ปี) และผู้ปกครองเด็กที่เข้าร่วมโครงการทั้งหมด 1,744 ครอบครัว
ผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดทั้ง 3 ตัวมีดังนี้
- ร้อยละของเด็กปฐมวัยที่มีพัฒนาการสมวัย
- ร้อยละของเด็กปฐมวัยที่มี EQ ผ่านเกณฑ์
- ร้อยละของพ่อแม่ผู้ดูแลเด็กที่มีทักษะการเลี้ยงดูผ่านเกณฑ์
การดำเนินงานปีที่ 3 (ปี 2566)
ปี 2566 มีพื้นที่เป้าหมาย รวม 142 โรงเรียน ดังนี้
1. โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน 59 โรงเรียน
2. โรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 49 โรงเรียน
3. ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” สังกัดกรมส่งเสริมการเรียนรู้ 24 แห่ง
4. โรงเรียนในสังกัดสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร 8 โรงเรียน
5. โรงเรียนในสังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น 2 โรงเรียน
Download รายชื่อสถานศึกษาปีที่ 3 (ปี 2566)