กลุ่มเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชนจังหวัดอุบลราชธานี

ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวการเกษตรบ้านบัวเทิง

ปีที่เข้าร่วม        2556

ที่ตั้ง                   หมู่ที่ 4 ตำบลท่าช้าง อำเภอสว่างวีระวงศ์ จังหวัดอุบลราชธานี

ประธานกลุ่ม     นายเดชา เหมะนัค

สมาชิกกลุ่ม       46 คน ประกอบอาชีพ ทำไร่ ทำสวน รับจ้างทั่วไป

 

   กิจกรรมระดับครัวเรือน

  • เลี้ยงสัตว์ ได้แก่ ไก่ไข่ ไก่พื้นเมือง เป็ด ปลา ปู
  • การปลูกพืชผักสวนครัวไว้สำหรับบริโภคภายในครัวเรือน เช่น ผักพายน้อย ผักชีฝรั่ง มะเขือ มะนาว มะกรูด หน่อไม้ โหระพา กะเพรา มะละกอ ต้นหอม ผักชี เป็นต้น
  • ปลูกไม้ผล ได้แก่ กล้วย พุทรา ส้มโอ แก้วมังกร เสาวรส น้อยหน่า ทุเรียน มะพร้าว
  • การทำบัญชีรายรับรายจ่ายครัวเรือน (รายวัน)

 

   กิจกรรมกลุ่ม

  • ด้านการบริหารจัดการและกระบวนการกลุ่ม
    • การจัดตั้งคณะกรรมการในการบริหารจัดการกลุ่ม
    • การกำหนดกฎระเบียบ ข้อบังคับของกลุ่ม
    • การจัดฐานการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงในชุมชน 6 ฐานการเรียนรู้ ได้แก่ (1) การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ (2) การผลิตและใช้น้ำหมักชีวภาพ (3) การไถกลบตอซังข้าว (4) การเลี้ยงไส้เดือนดิน (5) เศรษฐกิจพอเพียง และ (6) การปลูกมะนาวในท่อซีเมนต์

  • ด้านการผลิตของกลุ่ม
    • การทอเสื่อ
    • การทอผ้าขาวม้า   
    • การแปรรูป ได้แก่ หน่อไม้ดองและปลาร้า   

  • ด้านการเงินและบัญชี
    • การออมทรัพย์ของกลุ่ม สมาชิกออมเงินเดือนละ 100 บาท 
    • การทำบัญชีรายรับรายจ่ายของกลุ่ม (รายเดือน)

 

    การพระราชทานความช่วยเหลือ

  • พระราชทานเงินเพื่อเป็นกองทุนสำรองจ่ายและแหล่งเงินหมุนเวียนในการดำเนินกิจกรรมกลุ่มของสมาชิก จำนวน 20,000 บาท 

กลุ่มเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชนบ้านโพนแอวขัน

ปีที่เข้าร่วม        2557

ที่ตั้ง                   หมู่ที่ 2 ตำบลโสกแสง อำเภอนาจะหลวย จังหวัดอุบลราชธานี

ประธานกลุ่ม     นายฉัตรพล มงคลกาล

สมาชิกกลุ่ม       50 คน ประกอบอาชีพ ทำสวน ทำนา

 

   กิจกรรมระดับครัวเรือน

  • เลี้ยงสัตว์ ได้แก่ วัว หมู ไก่ เป็ด ปลา และกบ บริเวณรอบ ๆ บ้าน มีการปลูกพืชผักสวนครัวไว้สำหรับบริโภคภายในครัวเรือน เช่น ผักพายน้อย ผักชีฝรั่ง พริก ข่า ต้นหอม ขมิ้น มะเขือ เป็นต้น
  • ทอผ้า เป็นรายได้เสริม
  • การทำบัญชีรายรับรายจ่ายครัวเรือน (รายวัน)

 

   กิจกรรมกลุ่ม

  • ด้านการผลิตของกลุ่ม
    • การทำนาข้าวแปลงรวม
    • การทำโรงสีชุมชน
    • การรวมกลุ่มทอผ้ามัดหมี่
    • การแปรรูป ได้แก่ (1) ข้าวสาร (2) การทำกระเป๋าผ้า เสื้อ จากผ้ามัดหมี่ (3) สบู่สมุนไพรข้าวกล้องงอก (4) การทำเชื้อราบิวเวอร์เรีย (ชนิดสด) สำหรับกำจัดศัตรูพืช (5) การทำเชื้อราไตรโคเดอร์มา (ชนิดสด) และ (6) น้ำหมักชีวภาพและน้ำยาอเนกประสงค์

  • ด้านการเงินและบัญชี
    • การออมทรัพย์ของกลุ่ม สมาชิกออมเงินเดือนละ 50 บาท
    • การทำบัญชีรายรับรายจ่ายของกลุ่ม (รายเดือน)

 

    การพระราชทานความช่วยเหลือ

  • พระราชทานเงินเพื่อเป็นกองทุนสำรองจ่ายและแหล่งเงินหมุนเวียนในการดำเนินกิจกรรมกลุ่มของสมาชิก จำนวน 20,000 บาท

กลุ่มเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชนบ้านท่าเมือง

ปีที่เข้าร่วม        2558

ที่ตั้ง                   หมู่ที่ 10 ตำบลท่าเมือง อำเภอดอนมดแดง จังหวัดอุบลราชธานี

ประธานกลุ่ม     นายประเสริฐ ศิริมูล

สมาชิกกลุ่ม        50 คน ประกอบอาชีพ ทำไร่ ทำสวน รับจ้างทั่วไป

 

   กิจกรรมระดับครัวเรือน

  • การปลูกพืชผักสวนครัวไว้สำหรับบริโภคภายในครัวเรือน เช่น พริก ตะไคร้ ฟักทอง มะละกอ มะเขือ แคบ้าน ถั่วฟักยาว มันญี่ปุ่น เป็นต้น  
  • การทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย (รายวัน)

 

   กิจกรรมกลุ่ม

  • ด้านการบริหารจัดการและกระบวนการกลุ่ม
    • การจัดตั้งคณะกรรมการในการบริหารจัดการกลุ่ม
    • การกำหนดกฎระเบียบ ข้อบังคับของกลุ่ม

  • ด้านการผลิตของกลุ่ม
    • การทำนาแปลงรวม
    • การจักสาน ได้แก่ (1) กระเป๋า (2) กระติ๊บ และ (3) เสื่อ
    • การผลิตน้ำหมักชีวภาพและเชื้อราไตรโครเดอร์ม่า ไว้ใช้ภายในชุมชน
    • การแปรรูป ได้แก่ (1) ข้าวต้มมัด (2) ข้าวเกรียบว่าว (3) ไข่เค็มพอกสมุนไพร (4) ถั่วคั่วทราย และ (5) แหนมเห็ด    

  • ด้านการเงินและบัญชี
    • การออมทรัพย์ของกลุ่ม สมาชิกออมเงินปีละ 720 บาท  
    • การทำบัญชีรายรับรายจ่ายของกลุ่ม (รายเดือน) 

 

    การพระราชทานความช่วยเหลือ

  • พระราชทานเงินเพื่อเป็นกองทุนสำรองจ่ายและแหล่งเงินหมุนเวียนในการดำเนินกิจกรรมกลุ่มของสมาชิก จำนวน 20,000 บาท

กลุ่มเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชนบ้านโนนเมืองน้อย

ปีที่เข้าร่วม        2559

ที่ตั้ง                   หมู่ที่ 11 ตำบลคูเมือง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี

ประธานกลุ่ม     นางกัลยรัตน์ มุงคุลพรม

สมาชิกกลุ่ม       40 คน ประกอบอาชีพ ทำนา ทำสวน ปลูกผัก เลี้ยงสัตว์ จำหน่ายเมล็ดพันธุ์ และทอผ้า

 

   กิจกรรมระดับครัวเรือน

  • เลี้ยงสัตว์ ได้แก่ วัว หมู ไก่ไข่ เป็ด ปลา บริเวณรอบ ๆ บ้าน มีการปลูกพืชผักสวนครัวไว้สำหรับบริโภคภายในครัวเรือน เช่น ผักพายน้อย ผักชีฝรั่ง โหระพา มะเขือม่วง ข่า มะเขือพวง แคบ้าน มะนาว มะกรูด หน่อไม้ เป็นต้น
  • การทำบัญชีรายรับรายจ่ายครัวเรือน (รายวัน)

 

   กิจกรรมกลุ่ม

  • ด้านการบริหารจัดการและกระบวนการกลุ่ม
    • การจัดตั้งคณะกรรมการในการบริหารจัดการกลุ่ม
    • การกำหนดกฎระเบียบ ข้อบังคับของกลุ่ม

  • ด้านการผลิตของกลุ่ม
    • การปลูกผักแปลงรวม ได้แก่ ผักชีฝรั่ง ผักพายน้อย
    • การผลิตเมล็ดพันธุ์ผักชีฝรั่ง ผักพายน้อย
    • การเพาะเห็ดนางฟ้าในโรงเรือน
    • การเลี้ยงปลาดุกในบ่อดิน  
    • การเลี้ยงไก่ไข่
    • การผลิตสารชีวภัณฑ์ ได้แก่ (1) ไตรเดอร์มา (2) บิวเวอเรีย (3) ฮอร์โมนไข่ และ (4) น้ำกลั่นสมุนไพร
    • การจักสาน
    • การผลิตน้ำยาล้างจาน
    • การแปรรูป ได้แก่ ข้าวกล้องงอกและข้าวชงดื่ม

  • ด้านการเงินและบัญชี
    • การออมทรัพย์ของกลุ่ม สมาชิกออมเงินเดือนละ 30 บาท
    • การทำบัญชีรายรับรายจ่ายของกลุ่ม (รายเดือน)

 

    การพระราชทานความช่วยเหลือ

  • พระราชทานเงินเพื่อเป็นกองทุนสำรองจ่ายและแหล่งเงินหมุนเวียนในการดำเนินกิจกรรมกลุ่มของสมาชิก จำนวน 20,000 บาท เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2561

กลุ่มเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชนบ้านดอนใหญ่

ปีที่เข้าร่วม        2560

ที่ตั้ง                   หมู่ที่ 7 ตำบลขุหลุ อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี

ประธานกลุ่ม     นางบัวผัน จันทร์สุก

สมาชิกกลุ่ม       48 คน ประกอบอาชีพ ทำนา และทำสวน 

 

   กิจกรรมระดับครัวเรือน

  • ปลูกพืชผักสวนครัวไว้สำหรับบริโภคภายในครัวเรือนและจำหน่ายในชุมชน เช่น ผักบุ้ง ข่า ตะไคร้ มะกรูด กะเพรา โหระพา ขิง พริก มะเขือ มะเขือเทศ เป็นต้น
  • การทำบัญชีรายรับรายจ่ายครัวเรือน (รายวัน)

 

   กิจกรรมกลุ่ม

  • ด้านการบริหารจัดการและกระบวนการกลุ่ม
    • การจัดตั้งคณะกรรมการในการบริหารจัดการกลุ่ม
    • การกำหนดกฎระเบียบ ข้อบังคับของกลุ่ม

  • ด้านการผลิตของกลุ่ม
    • การปลูกผักจำหน่าย ได้แก่ ผักบรรจุถุง และผักในกระถาง
    • เพาะพันธุ์กล้าผักในถุงดำ
    • เมล็ดพันธุ์ผักบรรจุซอง
    • การแปรูรูป ได้แก่ 1) มะม่วงดอง 2) มะม่วงแช่อิ่ม 3) ขนมดอกจอก
    • ข้าวอินทรีย์
    • ผลิตปุ๋ยหมักสูตร 5311 สูตรกากหญ้าเนเปียร์หมัก น้ำหมักชีวภาพ และจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง

  • ด้านการเงินและบัญชี
    • การออมทรัพย์ของกลุ่ม ระดมทุนการฝากเงินกองทุน เงินออมทรัพย์ 120 บาท ต่อปี และเงินค่าบำรุงแปลงปลูก 120 บาทต่อปี

  • ด้านการช่วยเหลือสังคม
    • การพัฒนาหมู่บ้าน และบำเพ็ญประโยชน์ในชุมชน 

 

   การพระราชทานความช่วยเหลือ

    • พระราชทานเงินเพื่อเป็นกองทุนสำรองจ่ายและแหล่งเงินหมุนเวียนในการดำเนินกิจกรรมกลุ่มของสมาชิก จำนวน 20,000 บาท 
    • โรงสีข้าวพระราชทาน