ศูนย์ภูฟ้าพัฒนา ตามพระราชดำริ
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า
กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
ความเป็นมา
บ่อเกลือเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดน่าน พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูงสลับซับซ้อน เป็นต้นกำเนิดแม่น้ำน่าน ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวไทยภูเขาเผ่าลั๊วะ มีวิถีชีวิตที่เรียบง่าย มีอาชีพหลัก คือ การปลูกข้าวไร่และการหาของป่า เนื่องด้วยพื้นที่เพาะปลูกอยู่ตามไหล่เขาลาดชัน อีกทั้งยังทําไร่หมุนเวียนต้องถางและเผาป่า ส่งผลให้ป่าไม้ ดิน และน้ำเสื่อมโทรมลงอย่างรวดเร็ว ผลิตข้าวไม่เพียงพอต่อการบริโภคและไม่มีอาชีพเสริมที่จะสร้างรายได้ให้แก่ครอบครัว นอกจากนี้ยังประสบปัญหาสุขภาพอนามัย มีความยากลำบากในการดำรงชีวิต
พุทธศักราช 2542 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี (เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศ เป็นสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี) มีพระราชดำริให้จัดตั้งศูนย์ภูฟ้าพัฒนาขึ้น ณ ตำบลภูฟ้า อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน โดยมีพระราชประสงค์เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนในพื้นที่สามารถผลิตอาหารได้เพียงพอต่อการบริโภค ยกระดับรายได้และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นพร้อม ๆ กับการฟื้นฟูพื้นที่ป่าและสภาพแวดล้อมของชุมชน
ที่ตั้ง
กรมป่าไม้ ได้จัดพื้นที่ดำเนินงานจำนวน 1,812 ไร่ 3 งาน 78 ตารางวา ณ ตำบลภูฟ้า อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน โดยแบ่งเป็น
- พื้นที่ สาธิต ทดลอง และบริการของศูนย์ภูฟ้าพัฒนาจำนวน 600 ไร่
- แปลงเกษตรกรตัวอย่าง 127 แปลง จำนวน 1,212 ไร่ 3 งาน 78 ตารางวา
ภารกิจ
การพัฒนาพื้นที่ทำกิน
ปัญหาของการผลิตอาหารของชุมชน มีสาเหตุมาจากพื้นที่ทำกินมีจำกัดและตั้งอยู่บนพื้นที่ลาดชัน การพัฒนาจำเป็นต้องมีการปรับพื้นที่ จัดหาน้ำ และเลือกพันธุ์พืชที่เหมาะสมเป็นลำดับแรก
ระบบชลประทานบนพื้นที่สูง
การพัฒนาระบบชลประทานที่เหมาะสมกับพื้นที่สูงโดยสำรวจหาแหล่งน้ำ สร้างฝาย จัดทำระบบส่งน้ำ ระบบกระจายน้ำ และถังเก็บน้ำในแปลงเกษตรกร
การปลูกข้าวไร่
พัฒนาการปลูกข้าวไร่ ลดพื้นที่การปลูกข้าวหมุนเวียน เพื่อให้ป่าฟื้นฟู ลดการตัด ถาง เผา การปลูกถั่วมะแฮะเป็นพืชบำรุงดิน ใส่ปุ๋ยหมัก ปูนขาว ศึกษาวิจัยปรับเปลี่ยนพันธุ์ข้าวพื้นเมือง เช่น พันธุ์ข้าวซิว ข้าวลาย ให้ผลผลิตเฉลี่ย 200 กิโลกรัมต่อไร่ มาเป็นพันธุ์ขาวภูฟ้า ผลผลิตเฉลี่ย 492 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งให้ผลผลิตสูงกว่าเดิม
การทำนาขั้นบันได
เป็นการปรับพื้นที่เป็นแปลงตามแนวระดับในพื้นที่ที่เหมาะสม ปลูกพืชบำรุงดิน พัฒนาระบบน้ำ ส่งเสริมให้ใช้พันธุ์ข้าวสันป่าตอง 1 ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ 654 กิโลกรัม ทดแทนพันธุ์ซิวแม่จัน ซึ่งให้ผลผลิตเฉลี่ยเพียง 197 กิโลกรัม
การส่งเสริมการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์แบบผสมผสานในครัวเรือน
การส่งเสริมการปลูกพืชและแปรรูป
เพื่อเพิ่มรายได้และมูลค่า
ชาอูหลง
มีเกษตรกร 19 คน ปลูกและนำไปแปรรูปเป็นชาอูหลงและชาเขียวอบแห้ง
หม่อน
มีเกษตรกร 32 คน ปลูกและนำไปแปรรูปเป็นน้ำหม่อนพร้อมดื่มและแยมหม่อน
กาแฟ
มีเกษตรกร 73 คน ปลูกกาแฟสายพันธุ์โรบัสต้าและอราบิก้า นำไปแปรรูปเป็นสารกาแฟและกาแฟคั่ว
กล้วย
มีเกษตรกร 89 คน ปลูกและนำไปแปรรูปเป็น แป้งกล้วย กล้วยฉาบ และกล้วยอบ
การเก็บหาของป่า
เช่น ต๋าว หวาย มะขม และเมี่ยง
ผลไม้อื่น ๆ
เช่น สับปะรด กระท้อน เงาะ อะโวคาโด แก้วมังกร มะไฟจีน
งานหัตถกรรม
เพื่อเป็นรายได้เสริมและสืบทอดวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่น เช่น จักสานหญ้าสามเหลี่ยม สานตะกร้า ไม้กวาด ทอผ้า และตัดเย็บ
การส่งเสริมการทำเกษตรบนพื้นที่สูง
ทำให้มีพื้นที่ป่าไม้เพิ่มขึ้น 854 ไร่ และได้ขยายผลโครงการสร้างป่า สร้างรายได้ ไปยังหมู่บ้านใกล้เคียง มีประชาชน เข้าร่วม 83 คน ในพื้นที่ 1,153 ไร่
การทำฝายชะลอน้ำ
เพื่อกระจายความชุ่มชื้นในพื้นที่ของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการสร้างป่า สร้างรายได้ ทำให้มีอัตราการรอดตายของพันธุ์ไม้ที่ปลูกเสริมเพิ่มขึ้นและยังมีการทำแนวกันไฟป้องกันไฟป่า
การปรับปรุงบำรุงดิน
บำรุงดินด้วยการใช้ปุ๋ยหมักที่ผลิตเองโดยใช้วัสดุในพื้นที่และไม่ใช้สารเคมีในแปลงเกษตร
สุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนและชุมชน
การรักษาความสะอาด การจัดการขยะ ห้องน้ำห้องส้วมถูกสุขลักษณะ รวมทั้งมีน้ำดื่มน้ำใช้ที่สะอาด
การอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำ
แหล่งเรียนรู้
เพื่อให้ประชาชนสามารถศึกษาเรียนรู้ได้ด้วยตนเองและมีอาคารสถานที่สำหรับอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ที่สนใจเข้าศึกษาดูงาน
- พระตำหนักภูฟ้า
- แปลงสาธิตการปลูกกาแฟ
- แปลงสาธิตการทำนาขั้นบันได
- แปลงสาธิตสร้างป่า สร้างรายได้
- แปลงสาธิตการปลูกชาอูหลงอินทรีย์
- โรงเพาะชำกล้าไม้
- ศูนย์สาธิตการสร้างตนเอง
- ศูนย์เรียนรู้หญ้าแฝก
- ธนาคารข้าวภูฟ้า
- โรงผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ
- โรงแปรรูปกาแฟ
- โรงแปรรูปอาหาร
- หอนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
- หอพักสำหรับให้บริการหน่วยงาน คณะศึกษาดูงาน และนักท่องเที่ยว
- ร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์
การฝึกอบรม
ฝึกอบรมสำหรับประชาชนและเยาวชนที่สนใจ ดังนี้
1. การผลิตปุ๋ยหมักบนพื้นที่สูง
2. การเพาะเมล็ดพันธุ์ผักในวัสดุเหลือใช้
3. การเพาะเห็ดฟาง
- การเพาะเห็ดนางฟ้าภูฐานและเห็ดนางรมฮังการี
- การพัฒนาสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมแปลงเกษตรกร
- การจัดรายการสถานีวิทยุเพื่อการศึกษาและการพัฒนาอาชีพ
- การเลี้ยงผึ้ง
- การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร
- การป้องกันไฟป่า
การสนับสนุนกล้าไม้ให้กับเกษตรกร
- ไม้ป่า เช่น ค้อ ประดู่ ต๋าว หวายฝาด ยางนา มะแขว่น มะขามป้อม
- ไม้ผลและไม้เศรษฐกิจ เช่น ส้มโอ อะโวคาโด หม่อนผลสด กาแฟอาราบิก้า กาแฟโรบัสต้า กล้วยน้ำว้า ชาอัสสัม
การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร
รับซื้อผลผลิตจากเกษตรกรมาแปรรูปและจำหน่าย ได้แก่ มะแขว่น ต๋าว หม่อนผลสด กล้วย กาแฟอาราบิก้า กาแฟโรบัสต้า และชาอูหลงอินทรีย์
สถานีวิทยุ R radio
สถานีวิทยุ R radio 102.00 เมกะเฮิรตซ์ เป็นสถานีวิทยุเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นอกจากการรณรงค์ให้ความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์แล้ว ยังมีการอบรมให้ความรู้นักเรียนจัดรายการวิทยุเพื่อการอนุรักษ์ป่าไม้ด้วย
ข่าวกิจกรรม
วันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2567
การอบรมเลี้ยงผึ้งโพรงไทย แก่เกษตรกรในพื้นที่ศูนย์ภูฟ้าพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ
วันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2567
กิจกรรมพิธีสืบชะตาแม่น้ำ โครงการรณรงค์อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อปลูกจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรด้านแหล่งน้ำและการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำ
วันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2567
กิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ 12 สิงหาคม 2567
เอกสารเผยแพร่
ติดต่อ
ศูนย์ภูฟ้าพัฒนา ตามพระราชดำริ
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชุมารี
ที่อยู่ 155 หมู่ที่ 3 ตำบลภูฟ้า อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน 55220
โทรศัพท์ 08 6216 6144