การเขียนบันทึกประจำวัน
โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
อย่างตามโรงเรียนก็ให้นักเรียนเขียนเหมือนไดอารีประจําตัว เขาบอกชีวิตก็น่าเบื่อไม่ได้ทำอะไร วัน ๆ ก็เหมือน ๆ กัน เขาก็เขียนได้ดีนะ ตั้งแต่ ป. 1 ถึง ม. 6 ก็เขียน ให้บรรยายว่าทำอย่างไร อย่างที่ทหารเข้าไปสอน ถามเขาก็บอกว่าพี่ทหารสอนอะไรบ้าง วันนี้ช่วยกันทำเล้าไก่ ช่วยกันถอนหญ้า ปลูกอะไรไป ปลูกพวกนี้มีประโยชน์อะไร เขาเขียนมาได้ทุกวัน เขียนส่งมาให้อ่าน ก็ดี ก็ฝึกการเขียน ฝึกการอ่าน ฝึกการใช้ความคิด คือต้องเอาทุกเรื่องเวลานี้ เน้นให้เด็กลงมือปฏิบัติ
ทรงบรรยาย
ณ ศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่
วันศุกร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2564
ความเป็นมา
ผลกระทบของการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตั้งแต่ปีการศึกษา 2563 เป็นต้นมา ทำให้กระบวนการเรียนรู้และการพัฒนาศักยภาพของเด็กหยุดชะงักและขาดความต่อเนื่อง เนื่องจากการปิดสถานศึกษาและเลื่อนเปิดเทอม แม้สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี จะพระราชทานถุงยังชีพเพื่อการศึกษาให้นำไปแจกจ่ายให้นักเรียน และกระทรวงศึกษาธิการจะพยายามให้สถานศึกษาจัดการศึกษาในหลาย ๆ รูปแบบ แต่ก็ไม่ครอบคลุมเด็กทุกคน อีกทั้งยังไม่สามารถจัดให้นักเรียนได้ฝึกฝนลงมือปฏิบัติกิจกรรมตามพระราชดำริได้ทั้งหมดด้วย
ดังนั้นเมื่อสถานศึกษาสามารถเปิดทำการได้ตามปกติไปสักระยะหนึ่งแล้ว สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี จึงมีพระราชดำริให้จัดกิจกรรม “การเขียนบันทึกประจำวัน – โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน” ขึ้นตั้งแต่กุมภาพันธ์ 2564 เป็นต้นมา ซึ่งนอกจากจะกระตุ้นให้เกิดการพัฒนากิจกรรมโดยเฉพาะการทำการเกษตรที่เด็กได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง เป็นการฝึกฝนการใช้มือแล้ว ยังช่วยส่งเสริมการพัฒนาด้านการเขียนภาษาไทย การอ่าน รวมทั้งการใช้ความคิดอีกด้วย
แนวทางการดำเนินงาน
โรงเรียนที่สมัครเข้าร่วมกิจกรรมจัดส่งบันทึกประจำวัน โดยให้นักเรียนตั้งแต่ระดับประถมศึกษาไปจนถึงระดับมัธยมศึกษาหมุนเวียนกันเขียนบันทึกในสิ่งที่นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมการเกษตรในโรงเรียนในแต่ละวัน แล้วจัดส่งมายังโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งจะรวบรวมบันทึกประจำวันของนักเรียนในแต่ละสัปดาห์ทูลเกล้าฯ ถวายต่อไป
ปัจจุบันมีสถานศึกษาเข้าร่วมจำนวน 41 โรงเรียน รายชื่อโรงเรียนที่สมัครเข้าร่วมทำกิจกรรม และการจัดเวรส่งบันทึกประจำวัน
โรงเรียนระดับประถมศึกษา กลุ่มที่ 1 มีจำนวน 10 โรงเรียน ดังนี้
1) โรงเรียนบ้านคลอง 14 จังหวัดนครนายก
2) โรงเรียนบ้านแม่วะหลวง จังหวัดตาก
3) โรงเรียนบ้านสามหมื่น จังหวัดตาก
4) โรงเรียนบ้านแม่ระเมิง จังหวัดตาก
5) โรงเรียนบ้านขุนน้ำน่าน จังหวัดน่าน
6) โรงเรียนบ้านสบปืน จังหวัดน่าน
7) โรงเรียนบ้านยอดดอยวัฒนา จังหวัดน่าน
8) โรงเรียนบ้านแม่แคะ จังหวัดแม่ฮ่องสอน
9) โรงเรียนล่องแพวิทยา จังหวัดแม่ฮ่องสอน
10) โรงเรียนบ้านค่าย จังหวัดนราธิวาส
โรงเรียนระดับประถมศึกษา กลุ่มที่ 2 มีจำนวน 10 โรงเรียน ดังนี้
1) โรงเรียนบ้านหนองกันเกรา จังหวัดนครนายก
2) โรงเรียนบ้านนุเซะโปล้ จังหวัดตาก
3) โรงเรียนท่านผู้หญิงวิไล อมาตยกุล จังหวัดตาก
4) โรงเรียนบ้านแม่อมกิ จังหวัดตาก
5) โรงเรียนบ้านผาเยอ จังหวัดแม่ฮ่องสอน
6) โรงเรียนบ้านห้วยฟอง จังหวัดน่าน
7) โรงเรียนบ้านผักเฮือก จังหวัดน่าน
8) โรงเรียนบ้านหนองบัวสร้างวิทยาคาร จังหวัดสกลนคร
9) โรงเรียนบ้านเขาตันหยงมิตรภาพที่ 153 จังหวัดนราธิวาส
10) โรงเรียนบ้านปาหนัน จังหวัดนราธิวาส
โรงเรียนระดับประถมศึกษา กลุ่มที่ 3 มีจำนวน 11 โรงเรียน ดังนี้
1) โรงเรียนบ้านแม่หลุย จังหวัดแม่ฮ่องสอน
2) โรงเรียนบ้านโพซอ จังหวัดแม่ฮ่องสอน
3) โรงเรียนชุมชนบ้านท่าสองยาง จังหวัดตาก
4) โรงเรียนบ้านแม่สลิดหลวงวิทยา จังหวัดตาก
5) โรงเรียนท่านผู้หญิงพรสม กุณฑลจินดา จังหวัดตาก
6) โรงเรียนท่านผู้หญิงสง่า อิงคุลานนท์ จังหวัดน่าน
7) โรงเรียนบ้านบ่อหลวง จังหวัดน่าน
8) โรงเรียนอนุบาลกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร
9) โรงเรียนบ้านกุดฮู จังหวัดสกลนคร
10) โรงเรียนบ้านหัวเขา จังหวัดนราธิวาส
11) โรงเรียนบ้านเปล จังหวัดนราธิวาส
โรงเรียนระดับประถมศึกษา กลุ่มที่ 4 มีจำนวน 10 โรงเรียน ดังนี้
1) โรงเรียนบ้านพะเด๊ะ จังหวัดตาก
2) โรงเรียนบ้านแม่จวาง จังหวัดตาก
3) โรงเรียนบ้านกล้อทอ จังหวัดตาก
4) โรงเรียนบ้านสว้า จังหวัดน่าน
5) โรงเรียนบ้านบ่อหยวก จังหวัดน่าน
6) โรงเรียนบ้านสบมาง จังหวัดน่าน
7) โรงเรียนบ้านเลโคะ จังหวัดแม่ฮ่องสอน
8) โรงเรียนบ้านองหลุ จังหวัดกาญจนบุรี
9) โรงเรียนบ้านบางมะนาว จังหวัดนราธิวาส
10) โรงเรียนคีรีราษรังสฤษดิ์ จังหวัดนราธิวาส
บันทึกประจำวัน
โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
กลุ่มที่ 1 (10 โรงเรียน)
- ครั้งที่ 1 วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2565-25 มกราคม พ.ศ. 2566
- ครั้งที่ 2 วันที่ 26 มกราคม-24 มีนาคม พ.ศ. 2566
- ครั้งที่ 3 วันที่ 27 มีนาคม - 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2566
- ครั้งที่ 4 วันที่ 25 พฤษภาคม-25 กรกฎาคม พ.ศ. 2566
- ครั้งที่ 5 วันที่ 18 กันยายน - 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566
- ครั้งที่ 6 วันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 - 3 มกราคม พ.ศ. 2567
- ครั้งที่ 7 วันที่ 4 มกราคม - 4 มีนาคม พ.ศ.2567
- ครั้งที่ 8 วันที่ 5 มีนาคม - 5 พฤษภาคม พ.ศ.2567
- ครั้งที่ 9 วันที่ 27 พฤษภาคม - 24 มิถุนายน พ.ศ. 2567
- ครั้งที่ 10 วันที่ 25 มิถุนายน - 9 สิงหาคม พ.ศ. 2567
- ครั้งที่ 11 วันที่ 10 สิงหาคม - 25 กันยายน พ.ศ. 2567
กลุ่มที่ 2 (10 โรงเรียน)
- ครั้งที่ 1 วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2565 – 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566
- ครั้งที่ 2 วันที่ 13 กุมภาพันธ์– 5 เมษายน พ.ศ. 2566
- ครั้งที่ 3 วันที่ 7 เมษายน - 9 มิถุนายน พ.ศ. 2566
- ครั้งที่ 4 วันที่ 12 มิถุนายน - 10 สิงหาคม พ.ศ. 2566
- ครั้งที่ 5 วันที่ 2 ตุลาคม - 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566
- ครั้งที่ 6 วันที่ 16 มีนาคม - 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2567
- ครั้งที่ 7 วันที่ 17 พฤษภาคม - 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2567
- ครั้งที่ 8 วันที่ 3 กรกฎาคม - 19 สิงหาคม พ.ศ. 2567
กลุ่มที่ 3 (11 โรงเรียน)
- ครั้งที่ 1 วันที่ 3 มกราคม – 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566
- ครั้งที่ 2 วันที่ 23 กุมภาพันธ์ – 21 เมษายน พ.ศ. 2566
- ครั้งที่ 3 วันที่ 24 เมษายน - 23 มิถุนายน พ.ศ. 2566
- ครั้งที่ 4 วันที่ 26 มิถุนายน - 25 สิงหาคม พ.ศ. 2566
- ครั้งที่ 5 วันที่ 16 ตุลาคม - 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566
- ครั้งที่ 6 วันที่ 2 กุมภาพันธ์ - 2 เมษายน 2567
- ครั้งที่ 7 วันที่ 3 เมษายน - 3 มิถุนายน พ.ศ. 2567
- ครั้งที่ 8 วันที่ 4 มิถุนายน - 19 กรกฎาคม พ.ศ.2567
- ครั้งที่ 9 วันที่ 20 กรกฎาคม - 4 กันยายน พ.ศ. 2567
- ครั้งที่ 10 วันที่ 5 กันยายน - 20 ตุลาคม พ.ศ. 2567
กลุ่มที่ 4 (10 โรงเรียน)
- ครั้งที่ 1 วันที่ 17 มกราคม - 10 มีนาคม พ.ศ. 2566
- ครั้งที่ 2 วันที่ 10 มีนาคม - 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2566
- ครั้งที่ 3 วันที่ 11 พฤษภาคม - 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2566
- ครั้งที่ 4 วันที่ 12 กรกฎาคม - 8 กันยายน พ.ศ. 2566
- ครั้งที่ 5 วันที่ 30 ตุลาคม - 15 ธันวาคม พ.ศ. 2566
- ครั้งที่ 6 วันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2566- 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567
- ครั้งที่ 7 วันที่ 20 กุมภาพันธ์ - 20 เมษายน พ.ศ. 2567
- ครั้งที่ 8 วันที่ 21 เมษายน - 21 มิถุนายน พ.ศ. 2567